ปัญหาผิวหน้าเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ควรละเลย เพราะนอกจากจะลดความมั่นใจบนใบหน้าแล้ว ยังอาจเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาจนต้องมานั่งแก้ในภายหลังอีกด้วย วันนี้หมอโบจะมาพูดถึงสาเหตุของปัญหาและวิธีดูแลผิวหน้าเพื่อการแก้ปัญหาที่ตรงจุดที่สุด
ปัญหาผิวหน้าส่วนใหญ่มีอะไรบ้าง
1. หน้ามัน
แม้ว่าต่อมไขมันตามรูขุมขนใต้ชั้นผิวจะผลิตน้ำมันบนผิวหน้าเพื่อรักษาสภาพผิวไม่ให้แห้งจนเกินไป แต่หากต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไป อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียที่ใบหน้าขยายตัวและจุลินทรีย์บนผิวหนังเสียสมดุล อาจทำให้ผิวหน้ามันมากกว่าปกติจนกลายเป็นแหล่งสะสมของสิ่งสกปรกและอุดตันรูขุมขนจนเกิดสิวขึ้นตามมา ซึ่งสาเหตุที่ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไปเกิดจากลักษณะทางพันธุกรรม, ระดับฮอร์โมนเพศเพิ่มสูงขึ้น, การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ, การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก, การสัมผัสผิวหน้าบ่อยเกินไป เช่น เอามือจับใบหน้า หรือล้างหน้าบ่อย และภาวะความเครียด
วิธีแก้
- ล้างหน้าแต่พอดี ไม่ล้างหน้าบ่อยครั้งจนเกินไป และล้างด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ
- เลือกใช้โฟมล้างหน้าสำหรับผิวมันโดยเฉพาะ ได้แก่ โฟมล้างหน้าเนื้อเจล โฟมเนื้อน้ำนม หรือเนื้อบางเบา หลีกเลี่ยงโฟมล้างหน้าเนื้อครีม หรือโฟมล้างหน้าที่มีเนื้อเข้มข้น
- เลือกใช้มอยส์เจอไรเซอร์สำหรับผู้ที่มีผิวมัน ควรเป็นมอยส์เจอไรเซอร์สูตรที่ไม่มีน้ำมัน (Oil-free) เพื่อลดการอักเสบของผิว และไม่ก่อให้เกิดรูขุมขนอุดตัน
- เลือกใช้ครีมกันแดดที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวมัน เพื่อป้องกันรังสี UV และลดการกระตุ้นการผลิตน้ำมันมากกว่าปกติ
- เลือกใช้เครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนประกอบของน้ำมัน, น้ำหอม และแอลกอฮอล์ และเลือกใช้รองพื้นสูตรน้ำและสูตรโลชั่นบางเบา
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารกระตุ้นผิวหน้ามัน โดยเฉพาะอาหารทอดและอาหารไขมันสูง
2. ริ้วรอย
มีลักษณะเป็นร่องเส้นที่เกิดขึ้นบนผิวหน้า แม้ว่าจะพบได้ทั่วร่างกายโดยเฉพาะจุดที่ขยับบ่อยอย่างใบหน้า, ข้อพับ และคอ แต่หลายคนกลับพบปัญหาริ้วรอยก่อนวัยอันควรซึ่งเกิดจากสารอนุมูลอิสระทำลายเซลล์ให้เสื่อมสภาพ อีกทั้งเร่งให้เกิดริ้วรอยบนใบหน้าเร็วขึ้น หากปล่อยไว้นานจะทำให้ริ้วรอยมีร่องลึกขึ้นจนรักษาให้หายได้ยาก ริ้วรอยเกิดจากคอลลาเจนและอีลาสตินในร่างกายลดลงตามอายุที่มากขึ้น ทำให้ผิวหนังไม่ชุ่มชื้น เซลล์ผิวหนังเสื่อมสภาพลงเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังเกิดจากการสัมผัสผิวหน้าบ่อยเกินไป, การนอนโดยให้ใบหน้าทับกับหมอนนานเกินไป, ได้รับรังสี UV จากแดดมากจนอีลาสตินถูกทำลาย, ภาวะความเครียด, ขาดสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ผิว เป็นต้น
วิธีแก้
- หลีกเลี่ยงการทำความสะอาดใบหน้าหนักมือเกินไป หรือทำความสะอาดบ่อยเกินไป
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัดหรืออยู่ในพื้นที่นั้นนานเกินไป เพราะเสี่ยงต่อการได้รับรังสี UV มากจนทำลายเซลล์ผิว
- รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อป้องกันผิวถูกทำลาย
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่
- ปรับเปลี่ยนท่านอนไม่ให้ใบหน้าถูกกดทับจนเกิดริ้วรอย
- ฉีดโบท็อก ช่วยให้ริ้วรอยดูลดลง กล้ามเนื้อกระชับ โบท็อกจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 2 – 3 วัน และอยู่ได้นาน 3 – 4 เดือน
ข้อดีของการฉีดโบท็อกลดริ้วรอยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
3. ฝ้าแดด
เป็นฝ้าชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นปื้นฝ้าน้ำตาล, ฝ้าแดง, หรือฝ้าดำ ฝ้ามีหลายระดับ หากอยู่ที่ผิวหนังชั้นกำพร้าจะเรียกว่า ฝ้าตื้น เป็นฝ้าที่มีสีเข้มและเห็นขอบชัดกว่า สามารถรักษาให้หายได้ง่ายและเร็วกว่าฝ้าแบบลึก ส่วนฝ้าที่อยู่ในชั้นผิวลึกกว่าและมีสีจางกว่าฝ้าตื้น เรียกว่า ฝ้าลึก เป็นประเภทของฝ้าที่พบในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุของฝ้าแดดมาจากรังสี UV (Ultraviolet) ในแสงแดดที่มีความเข้มข้นสูง เข้าไปกระตุ้นการผลิตเม็ดสีภายในผิวหนัง จนเข้าไปทำลายผิวจนผิวไหม้แดดและใบหน้าหมองคล้ำลง นอกจากแสงแดดแล้วยังรวมไปถึงแสงจากหลอดไฟ, จอคอมพิวเตอร์ และจอสมาร์ทโฟนอีกด้วย หากผิวโดนแสงแดดเป็นประจำโดยไม่ได้ทาครีมกันแดดป้องกัน อาจย้ำให้ฝ้ามีสีเข้มขึ้นได้
วิธีแก้
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน, เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป
- ดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือประมาณ 1,500 – 2,000 มิลลิลิตร
- หลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน
- ล้างหน้าตามแนวโพรงขน เพื่อระบายความมันและสิ่งสกปรก ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น เกิดฝ้ายากขึ้น
- รับประทานอาหารบำรุงผิว โดยเฉพาะวิตามิน A, C และ E
- ใช้สมุนไพรมาส์กหน้า เช่น หัวไชเท้า, ว่านหางจระเข้
- ทาครีมกันแดดที่มี SPF50 PA+++ ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UV
- การทำ Laser กำจัดเซลล์เม็ดสีด้านล่าง, ทานยายับยั้งการสร้างเซลล์เม็ดสี และยาฉีดในกรณีที่ฝ้าตอบสนองต่อการรักษาได้ไม่ดีเท่าที่ควร
เลเซอร์หน้าใส กี่ครั้งเห็นผล ต้องทำบ่อยมั้ย เหมาะกับใครบ้าง?
4. ผิวคล้ำเสีย
เป็นลักษณะของผิวที่มีความหมองคล้ำ ไม่สว่างสดใสเหมือนแต่ก่อน สีผิวไม่สม่ำเสมอกัน หากสัมผัสจะรู้สึกได้ว่าผิวแห้งกร้าน ไม่ชุ่มชื้น หรืออาจเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำขึ้นตามมา เมื่อออกแดดจะรู้สึกว่าผิวคล้ำง่ายกว่าปกติ บางรายอาจมีผิวหนังหลุดลอกออกมา รู้สึกคันบริเวณที่ผิวถูกทำลาย นอกจากนี้อาจรู้สึกแสบร้อน เกิดรอยแดงบริเวณใบหน้าเนื่องจากผิวมีความไวต่อแสงแดดมากขึ้นนั่นเอง โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากรังสี UV ในแสงแดด, นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, ทำความสะอาดคราบเครื่องสำอางไม่หมดจด, ภาวะความเครียดสะสม, ไม่ใช้ครีมบำรุงผิว รวมถึงการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือจอสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน
วิธีแก้
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน, เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป
- ดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือประมาณ 1,500 – 2,000 มิลลิลิตร
- หลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน
- เลือกใช้มอยส์เจอไรเซอร์เพื่อเติมเต็มสารอาหารและความชุ่มชื้นให้แก่ผิว หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรด AHA เพราะอาจทำให้ผิวบางลงหรือระคายเคือง
- การทำทรีทเม้นท์ใบหน้า (Facial treatment) เพื่อยกกระชับใบหน้า, ลดเลือนริ้วรอย, ผิวหน้ากระจ่างใส, ลดรอยคล้ำใต้ตา และเติมความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหน้า
การทำ ทรีทเม้นท์หน้า ตัวช่วยฟื้นฟูผิวแบบเร่งด่วน
5. ใต้ตาคล้ำ
เกิดจากเส้นเลือดรอบดวงตาไหลเวียนไม่เป็นปกติ จนเส้นเลือดดำขยายตัวและเห็นเป็นรอยคล้ำใต้ตา สาเหตุเกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ, มีอายุมากขึ้น จนทำให้ผิวรอบดวงตาบางลง, รังสี UV, ภาวะความเครียด, ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะช่วงมีประจำเดือน และช่วงตั้งครรภ์, ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ, ภาวะขาดน้ำ เนื่องจากร่างกายรับน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้เซลล์ผิวไม่กระจ่างใส จนเกิดรอยดำคล้ำใต้ตาชัดเจน หรืออาจเกิดจากผิวใต้ดวงตาอักเสบ จึงทำให้เม็ดสีสะสมที่บริเวณใต้ดวงตามากกว่าปกติ อันมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม, โรคภูมิแพ้ และแพ้สารสัมผัส ทำให้รู้สึกคัน ระคายเคืองตา และต้องขยี้ตาเพื่อบรรเทาอาการ
วิธีแก้
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน, เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป
- ดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือประมาณ 1,500 – 2,000 มิลลิลิตร
- หลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน
- เลือกใช้ครีมบำรุงรอบดวงตาที่มีส่วนประกอบของวิตามิน C, เรตินอล, กรดโคจิก, ลิโคไรซ์, อาร์บูติน, ไฮโดรควิโนน หรือมีส่วนผสมของกรดผลไม้ เพื่อช่วยลดรอยหมองคล้ำและรอยคล้ำในอนาคต
- ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา การฉีดฟิลเลอร์เป็นสารเต็มเติมที่มีส่วนประกอบของสารไฮยาลูโรนิคแอซิด (hyaluronic acid) ที่มีลักษณะคล้ายเจล มีความคงตัวสูง สังเคราะห์จากน้ำตาลโมเลกุลเชิงซ้อนที่ให้โครงสร้างคล้ายกับคอลลาเจนใต้ผิวหนัง เมื่อฉีดเข้าไปในบริเวณใต้ผิวที่หมองคล้ำ จะช่วยให้ผิวหนังบริเวณนั้นเอิบอิ่ม ดูสวยเป็นธรรมชาติ ทั้งนี้จะต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมิน โดยการวิเคราะห์โครงสร้างเพื่อคำนวณปริมาณฟิลเลอร์ที่จะใช้ฉีด เพราะหากคำนวณพลาด อาจแก้ปัญหาไม่ได้และทำให้ฟิลเลอร์เป็นก้อนอีกด้วย
8 ข้อต้องรู้ ก่อนฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ต้องเตรียมตัวอย่างไร?
6. รูขุมขนกว้าง
เกิดจากต่อมผลิตไขมันขยายใหญ่ขึ้นมากกว่าปกติ หรือเส้นขนใต้ผิวหนังมีโครงสร้างผิดปกติ ส่งผลให้เกิดสิวบริเวณนั้นเนื่องจากต่อมผลิตไขมันขยายขนาดขึ้นและมีสิวตามมา ส่วนบริเวณที่เกิดรูขุมขนกว้างมักจะเป็นหน้าผาก, แก้ม, หูชั้นนอก, แผ่นหลัง หรืออื่น ๆ ก็ได้ ส่วนใหญ่มักพบในวัยกลางคน โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากฮอร์โมน โดยเฉพาะวัยรุ่นซึ่งเป็นช่วงวัยที่ผลิตฮอร์โมนมากกว่าวัยอื่น ทำให้รูขุมขนขยายกว้างขึ้น เพื่อให้ผิวขับความมันออกมามากยิ่งขึ้น, ผู้ที่มีสิวอุดตัน, ผู้ที่บีบสิวเป็นประจำ, การทำความสะอาดใบหน้าผิดวิธี, ละเลยการทำความสะอาดใบหน้า, สภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษ, รังสี UV, ภาวะความเครียด รวมถึงพันธุกรรมด้วย
วิธีแก้
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน, เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป
- ดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือประมาณ 1,500 – 2,000 มิลลิลิตร
- หลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน
- ศัลยกรรมผ่าตัดเพื่อยกกระชับใบหน้า
- ฉีดฟิลเลอร์ โบท็อกซ์ ช่วยยกกระชับใบหน้า เพิ่มความกระจ่างใสได้ทันทีหลังจากฉีด
- ทำอัลเทอร่าเพื่อกระตุ้นให้ผิวสร้างคอลลาเจนเพิ่ม
7. ผิวแห้ง หยาบกร้าน
หรือภาวะผิวแห้งแตกมาก เกิดจากร่างกายอยู่ในสภาวะที่มีน้ำในผิวหนังชั้นหนังกำพร้าลดลง จึงมีผิวหนังแห้งกร้าน มองเห็นร่องของผิวได้ชัด รู้สึกระคายเคืองง่าย ผิวอักเสบ บางรายอาจมีผิวแดง หลุดลอกเป็นขุย มีรอยแตกลาย ส่วนมากมักพบบริเวณแขน, ขา และมือ นอกจากนี้อาจรู้สึกแสบคัน หากเกาบ่อย ๆ อาจจะทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังขึ้นมาด้วย ปัญหาผิวแห้งแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่
- ผิวแห้งเล็กน้อย รู้สึกไม่สบายผิว มีอาการคันเล็กน้อย แต่ที่เห็นได้ชัดคือผิวไม่เรียบเนียน
- ผิวแห้งปานกลาง ผิวแดงขึ้น ผิวเป็นขุยมากขึ้น มีผื่นขึ้นเป็นหย่อม ๆ หากลูบบริเวณผิวหนังแล้วจะรู้สึกสากผิว
- ผิวแห้งมาก ผิวลอกเป็นขุย ผิวหนังแห้งแตกลาย หรือขึ้นเป็นเกล็ด รู้สึกตึงบริเวณผิวหนัง รู้สึกคันอย่างต่อเนื่อง หรืออาจมีผื่นขึ้นเป็นบริเวณกว้าง
ผิวแห้งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม เช่น ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง และสะเก็ดเงิน, การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฮอร์โมน โดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์และหมดประจำเดือน, อายุมากขึ้น ชั้นผิวอ่อนแอลง, สภาพอากาศที่หนาวหรือร้อนจัด, การทานยาบางชนิด, ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือแม้แต่การทำความสะอาดผิวบ่อยเกินความจำเป็นก็ตาม
วิธีแก้
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน, เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป
- ดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือประมาณ 1,500 – 2,000 มิลลิลิตร
- หลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน
- ทาครีมบำรุงผิวเป็นประจำเพิ่มความชุ่มชื้น ควรเลือกชนิดที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์ (Moisturising) และควรทาเช้า-เย็นเป็นประจำหลังอาบน้ำทันที
- ขัดผิวด้วยน้ำผึ้ง น้ำผึ้งมีสรรพคุณช่วยบำรุงให้ผิวเนียนและฉ่ำ มีสุขภาพดี แต่หากอยากเพิ่มสรรพคุณขัดผิว ขจัดรอยดำหรือผิวแห้งกร้านบริเวณข้อศอก, ข้อพับ, หัวเข่า ก็ให้เติมน้ำตาลทรายแดงลงไปด้วย และนำมาขัดเป็นประจำ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
- นวดผิวด้วยน้ำมันก่อนอาบน้ำจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวได้ โดยเฉพาะปัญหาผิวแตกเป็นขุยแห้งลอกเป็นแผ่น
- งดการอาบน้ำอุ่นจัดและงดการอาบน้ำนานเกินไป
- การทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวันจะช่วยยืดอายุผิวให้อ่อนเยาว์และคงความชุ่มชื้นได้นาน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ปั้นปากปั๊วะ ปรับโหงวเฮ้งปาก เสริมเสน่ห์เหนี่ยวทรัพย์
ก่อนฉีดฟิลเลอร์ปากกระจับ แบบ ฉบับสายฝอ ต้องรู้อะไรบ้าง
วิธีดูแลตัวเอง หลังฉีดฟิลเลอร์ ใน 24 ชั่วโมง ต้องทำตัวยังไง
นัดหมาย หรือ ขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
หมอโบ หรือ พญ.ปาริฉัตร ตัณชวนิชย์ เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังที่มีประสบการณ์การดูแลคนไข้ด้านความงามมากกว่า 15 ปี ศึกษาจบแพทยศาสตรบัณฑิตจากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล หลังจากนั้นได้ไปศึกษาต่อเฉพาะทางด้านผิวหนังที่ Boston University ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นก็กลับมาทำงานเป็นแพทย์ประจำแผนกผิวหนังและศูนย์ความงามที่โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา และเมื่อสะสมประสบการณ์มายาวนานกว่า 9 ปี ก็มาเปิดคลินิกของตนเองภายใต้ชื่อ “เดอ โบ คลินิก” (de beau clinic) ซึ่งหมอโบเองก็ค่อนข้างประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะมีคนไข้แวะเวียนเข้ามา รีวิวบอกกันปากต่อปากถึงความละเอียดของหมอโบว่า “ละเอียด เนียน เป๊ะ!”
สำหรับฟิลเลอร์ที่หมอใช้ก็เป็นฟิลเลอร์จากยุโรปแท้ที่ผ่านการรับรองจาก อย.ไทยเท่านั้น รวมถึงประสบการณ์ของหมอเองที่ #ยืนหนึ่ง ในวงการฟิลเลอร์ ทำให้มั่นใจได้เลยว่า จะ “สวยมากเสี่ยงน้อย” หากใครมีปรึกษาเรื่องฟิลเลอร์หรืออยากปรับรูปหน้าสามารถปรึกษาหมอโบได้นะคะ หมอยินดีดูแลเองทุกเคสค่ะ