อันตรายจากฟิลเลอร์ปลอม เสี่ยงหน้าพัง ติดเชื้อ เนื้อตาย และตาบอด

ฟิลเลอร์ปลอม ภัยร้ายใกล้ตัวของสาวๆ ที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบถึงอันตรายของมัน หรือ บางทีก็อาจจะโดนหลอกซื้อมาอีกทีว่ากำลังซื้อ “ของแท้” แต่จริงๆ กำลังฉีด “ของเก๊” อยู่ ซึ่งปัญหานี้นั้นมักเป็นปัญหายอดฮิตที่หมอเองก็เจอเคสแบบนี้เป็นประจำเนื่องจากคนไข้ที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอมมามักจะส่งผลให้เกิดเป็นกลุ่มก้อน ผิวเกิดอาการอักเสบจนเกิดการผิดรูป และอาการข้างเคียงอื่นๆ อีกมากมาย วันนี้หมอจะมาพูดถึงเรื่องนี้ให้ฟังกันค่ะ

อันตรายจาก ฟิลเลอร์ปลอม เสี่ยงหน้าพัง ติดเชื้อ เนื้อตาย และตาบอด

ฟิลเลอร์ คืออะไร?

ก่อนจะเริ่มเรื่องของฟิลเลอร์ของปลอมแล้ว หมอจะขออนุญาตอธิบายให้ฟังกันก่อนว่า “ฟิลเลอร์” ที่นิยมฉีดกันทั่วบ้านทั่วเมืองนี้คืออะไร? ฟิลเลอร์ก็คือสารเติมเต็มชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติช่วยเติมเต็มส่วนที่หายหรือสึกหรอตามใบหน้าหรือร่างกาย ซึ่งเรามักจะนิยมนำมาใช้กับใบหน้ามากกว่า เพราะสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้หลายจุด เช่น ปัญหาร่องใต้ตาลึก ปัญหาขอบตาดำคล้ำ ปัญหาแก้มตอบ ปัญหาขมับตอบ ปัญหาคางสั้น ปัญหาร่องแก้มลึก ซึ่งวิธีการแก้ไขใบหน้าด้วยฟิลเลอร์นั้นก็เป็นที่นิยมกันมากเพราะว่า ไม่ต้องพักฟื้นและยังสวยได้ทันทีด้วยค่ะ โดยฟิลเลอร์แท้ที่ใช้กันในคลินิกที่ได้รับมาตรฐานนั้นจะมีความปลอดภัยสูงมาก เนื่องจากไม่ติดค้างในร่างกาย สามารถสลายตัวไปเองได้ และไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย

เนื่องจากประโยชน์และยังสามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดเช่นนี้ จึงทำให้ความนิยมในการฉีดฟิลเลอร์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะว่าสวยเร็ว ไม่ต้องนอนพักฟื้นนานเหมือนกับการผ่าตัดศัลยกรรม จึงทำให้เกิด “ฟิลเลอร์ของปลอม” ขึ้น ซึ่งถึงแม้ว่าจะใช้เติมเต็ม สวยอย่างรวดเร็วได้เหมือนกัน แต่ว่าความปลอดภัยติดลบและมีอันตรายสูงมาก เพราะฟิลเลอร์ปลอมก็คือ “ซิลิโคนเหลว” ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ใช้เติมเติมได้เหมือนกัน แต่ว่าไม่สามารถสลายตัว ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหลายอย่างตั้งแต่พื้นผิวที่ฉีดมีความผิดรูปไปจนถึงการติดเชื้อ และนอกจากนี้ฟิลเลอร์ของปลอมนั้นยังไม่ได้มีเพียงซิลิโคนเหลวเป็นส่วนประกอบเท่านั้น แต่ยังมีพาราฟิน ไบโอพลาสติก ไขมันเทียมและสารโพลีอะคริลาไมด์ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสารที่ไม่ได้รับการอนุมัติจาก อย. (องค์การอาหารและยา)

เกิดอะไรขึ้นหาก ฟิลเลอร์ปลอม เข้าสู่ร่างกาย

1.อาการแพ้ 

ในบางรายอาจจะเกิดอาการแก้สารที่ฉีดเข้าไป ซึ่งผลก็คือทำให้เกิดความระคายเคือง เช่น เป็นผื่นแดง คัน มีอาการบวมแดง หรือรอยช้ำ ในบางครั้งอาจจะมีร่องรอยของเข็มที่ฉีดด้วยซึ่งอาจะเกิดจากหลอดเลือดใต้ผิวฉีกขาด ซึ่งหากคนไข้ได้รับการฉีดกับหมอที่มีความเชี่ยวชาญปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดเลยค่ะ

2.ผิวขรุขระ เป็นก้อน ผิดรูป

อันนี้ถือว่าเป็นปัญหาที่เจอบ่อยมากๆ เพราะคนไข้ที่พลาดไปฉีดฟิลเลอร์ปลอมมามักจะเจอ เพราะสารที่ฉีดเข้าไปเกิดไม่ย่อยสลายตามธรรมชาติ แต่จับตัวเป็นก้อน ทำให้ผิวไม่เรียบเนียบ ขรุขระคล้ายมีเม็ดแข็งๆ เล็กๆ อยู่ด้านใน ในบางรายมีการไหลย้อนกลับ หรือเปลี่ยนตำแหน่งของสารเติมเต็ม เช่น ฉีดใต้ตาและไหลไปที่จมูกหรือแก้ม

3.ติดเชื้อ

สาเหตุของการติดเชื้อนั่นสามารถเกิดขึ้นได้หลายอย่าง เช่น สถานที่ฉีดไม่มีความสะอาดและความปลอดภัย ผู้ฉีดมีความไม่ชำนาญก็สามารถเป็นต้นเหตุต่อการติดเชื้อได้ ในบางรายอาจร้ายแรงขนาดเกิดการอุดตันหลอดเส้นเลือดดำ ทำให้ผิวบริเวณที่ฉีดมีสีแดงหรือเข้มขึ้นไปจนถึงสีดำคล้ำ เป็นหนองอักเสบ ต้องรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

4.เสี่ยงตาบอด

การตาบอดจากการฉีดฟิลเลอร์ของปลอม มักเกิดจาก ฟิลเลอร์ที่ไม่ผ่านมาตราฐานเข้าไปอุดภายในเส้นเลือดทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงส่วนนั้นๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น ฉีดเข้าเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงปลายประสาทตา ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยง เกิดอาการตาบอดได้ และอาจทำให้เกิดเนื้อเยื่อตายในบริเวณใกล้เคียงที่ขาดเลือดไปเลี้ยง

  

วิธีสังเกต ของปลอม

ดังนั้น ฟิลเลอร์ปลอมที่หลายคนพลาดไปฉีดกันก็คือ ซิลิโคนเหลวนี่แหละค่ะ ซึ่งต้องบอกว่าหลายคนยังเข้าใจผิดคิดว่าเป็นชนิดเดียวกันกับฟิลเลอร์อยู่ทำให้พลาดไปฉีดกัน ในบางรายก็เกิดจากความไม่รู้จริงๆ เพราะถูกหลอกให้หลงเชื่อว่าเป็นของแท้ เพราะฟิลเลอร์ของปลอมเหล่านี้จะมีการเลียนแบบทำแพกเกจกล่องเหมือนของแท้แบบเป๊ะๆ ขนาดแกะกล่องออกมาขวดบรรจุฟิลเลอร์ยังทำเหมือนกันเลยค่ะ แต่ข้างในสารกึ่งซิลิโคนไม่ใช่สาร HA (Hyaluronic Acid) ซึ่งผลก็คือหากฉีดเข้าไปไม่ย่อยสลาย หากไม่ใช่แพทย์ที่เชี่ยวชาญจริงๆ ก็อาจจะหลงเชื่อได้ ดังนั้นหมอจะมาสอนวิธีให้สังเกตกันง่ายๆ ว่า จับผิดฟิลเลอร์ของปลอมทำยังไง??

ฟิลเลอร์ปลอม หรือ ฟิลเลอร์แท้ดูยังไง

1.ราคา

หากจะดูว่าฟิลเลอร์ตัวนั้นปลอมหรือแท้ให้สังเกตที่ “ราคา” ก่อนเป็นอันดับแรกเลย หากพบว่าราคาถูกมากเกินไปให้สงสัยไว้ก่อนเลยค่ะว่า ฟิลเลอร์นั้นอาจจะเป็นของปลอม ดังนั้นสาวๆ จึงไม่ควรเห็นแก่ของที่มีราคาถูกมากเกินไป เพราะนอกจากจะไม่ปลอดภัยเเล้วยังเสี่ยงอันตรายจากการใช้ฟิลเลอร์ของปลอมด้วย

2. ฉลากภาษาไทย

ฟิลเลอร์ทุกยี่ห้อที่จะที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาของประเทศไทย จะมีฉลากภาษาไทยระบุรายละเอียดของสินค้าติดไว้ทั้งราคา วันหมดอายุอย่างชัดเจนที่ข้างกล่อง รวมไปถึงข้อมูลเกี่ยวกับสารฟิลเลอร์นั้นๆ หากฟิลเลอร์ชนิดไหน ไม่มีฉลากภาษาไทยในส่วนนี้ระบุอยู่ ก็อาจจะเสี่ยงเป็นของปลอมได้

3. มาตรฐานความปลอดภัย

ฉลากของฟิลเลอร์ของแท้นั้นจะมีการระบุถึงมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยจาก อ.ย. ไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นหากคุณต้องการฉีดฟิลเลอร์ให้ปลอดภัยและเกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด ควรเลือกฟิลเลอร์ที่มี อย. (องค์การอาหารและยา) รับรองจะดีที่สุด โดยฟิลเลอร์ที่ผ่านการรับรองจาก อย.ไทย ทั้งหมดจะมียี่ห้อดังนี้ คือ  JUVEDERM , RESTYLANE, BELOTERO, PERFECTHA, NEURAMIS

ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ? ข้อแตกต่างของฟิลเลอร์แต่ละชนิด มีอะไรบ้าง

4.ฟิลเลอร์ตามอินเตอร์เน็ต

เนื่องจากฟิลเลอร์เป็นยาควบคุม ซึ่งตามปกติจะไม่มีขายตามร้านขายยาหรือร้านค้าทั่วไปโดยเฉพาะในอินเตอร์เน็ต ในการสั่งซื้อยา ต้องเป็นแพทย์เท่านั้น และต้องยื่นหลักฐานหลายอย่างประกอบกัน เช่น ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ใบอนุญาตเปิดสถานพยาบาล ดังนั้นฟิลเลอร์ที่ขายในอินเทอร์เน็ต เป็นสิ่งที่ไม่ควรซื้อมาเลย เพราะว่าเสี่ยงเป็นฟิลเลอร์ของปลอมมาก ซึ่งแม้หลายคนจะมีการแชร์วิธีการจับโป๊ะกันในโซเชียลกับวิธีในการสังเกตว่า “แท้ไม่แท้” กันมากมายหลายวิธี แต่หมอบอกเลยค่ะว่า เป็นส่วนนึงเท่านั้นเองเพราะ ของปลอมนั้นมีการดัดแปลงเหมือนมาก ต้องอาศัยแพทย์ที่มีการเชี่ยวชาญด้านฟิลเลอร์เท่านั้นค่ะ ถึงจะสามารถแยกแยะได้ ดังนั้นไม่ควรซื้อฉีดเองนะคะ

วิธีสังเกตฟิลเลอร์แท้ VS ฟิลเลอร์ปลอม วิธีสังเกตแบบเคลียร์ชัดว่าต่างกันอย่างไร

5.ผู้แอบอ้างเป็นแพทย์

ที่น่ากลัวกว่ายิ่งกว่าฟิลเลอร์ของปลอมก็คือ การฉีดฟิลเลอร์หรือสารเติมเต็มโดยผู้ที่แอบอ้างเป็นแพทย์หรือภาษาที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง หมอกระเป๋าหรือหมอปลอม ต้องบอกเลยนะคะว่า เป็นสิ่งที่อันตรายมากๆ เลย เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการใช้ฟิลเลอร์ของปลอมที่ไม่ย่อยสลายแล้ว ยังมีเรื่องของเทคนิคเฉพาะทางที่จำเป็นต้องเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ฉีดให้เท่านั้น เพราะการฉีดฟิลเลอร์นั้นจำเป็นต้องฉีดในจุดที่ต้องอาศัยความละเอียดอ่อนมากๆ เช่น บริเวณรอบดวงตา ดันนั้นหากฉีดผิดจุดไปอาจจะทำให้ผิวไม่เรียบเนียน ไปจนถึงอาจเสี่ยงต่อการอักเสบอีกด้วย

6.แกะกล่องให้เห็นหรือไม่?

ในสถานประกอบการณ์หรือผู้แอบอ้างแพทย์บ้างรายอาจจะใช้ฟิลเลอร์แท้ให้การให้บริการ แต่จะใช้วิธี “การแบ่งใช้” คือ ในฟิลเลอร์ 1 กล่องอาจจะแบ่งใช้สำหรับลูกค้า 2 หรือ 3 คน ซึ่งการแกะเปิดกล่องใช้ฟิลเลอร์นั้นไม่ควรที่จะเก็บไว้ใช้อีกเพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เพราะฟิลเลอร์นั้นจำเป็นจะต้องสดใหม่ เปิดแล้วควรทิ้งไม่ควรเก็บมาใช้อีก และนอกจากนี้การไม่แกะกล่องให้เห็นต่อหน้าอาจจะเป็นไปได้ว่า สถานประกอบการณ์หรือผู้ฉีดนั้นอาจจะ “เล่นตุกติก” นำฟิลเลอร์ปลอม (ที่ซื้อมาราคาถูก) มาย้อมแมวขายโดยใส่ในหลอดเดิม (หรือกล่องเดิม) เพื่อหลอกว่าเป็นของแท้ก็ได้ ซึ่งทางเดอโบคลินิกนั้น หมอจะใส่ใจเรื่องความมั่นใจของคนไข้ทุกคนเลยค่ะ ซึ่งในทุกๆ เคสนั้นหมอจะทำการเปิดฟิลเลอร์กล่องใหม่ “ต่อหน้า” คนไข้ก่อนฉีดทุกคนเพื่อให้มั่นใจได้เลยว่า เป็นของแท้ไม่ย้อมแมวแน่นอน

อ่านรีวิวคนไข้คนอื่นๆ ของหมอโบ เดอโบคลินิกได้ที่นี่

นัดหมาย หรือ ขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

Line : @debeauclinic
☎️ : 097 426-6956 หรือ 097 429-5645

ฟิลเลอร์ร่องแก้ม รีวิว ร่องแก้ม ฟิลเลอร์แก้ม แก้มตอบ ร่องแก้ม

หมอโบ หรือ พญ.ปาริฉัตร ตัณชวนิชย์ เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังที่มีประสบการณ์การดูแลคนไข้ด้านความงามมากกว่ากว่า 15 ปี ศึกษาจบแพทยศาสตร์บัณฑิตจากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาลัยมหิดล หลังจากนั้นได้ไปศึกษาต่อเฉพาะทางด้านผิวหนังที่ Boston University ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นก็กลับมาทำงานเป็นแพทย์ประจำแผนกผิวหนังและศูนย์ความงามที่โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา และเมื่อสะสมประสบการณ์มายาวนานกว่า 9 ปี ก็มาเปิดคลินิกของตนเองภายใต้ชื่อ “เดอ โบ คลินิก” ( de beau clinic) ซึ่งหมอโบเองก็ค่อนข้างประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะมีคนไข้แวะเวียนเข้ามา รีวิวบอกกันปากต่อปากถึงความละเอียดของหมอโบว่า “ละเอียด เนียน เป๊ะ!”

สำหรับฟิลเลอร์ที่หมอใช้ก็เป็นฟิลเลอร์จากยุโรบแท้ที่ผ่านการรับรองจาก อย.ไทยเท่านั้น รวมถึงประสบการณ์ของหมอเองที่ #ยืนหนึ่ง ในวงการฟิลเลอร์ ทำให้มั่นใจได้เลยว่า จะ “สวยมากเสี่ยงน้อย” หากใครมีปรึกษาเรื่องฟิลเลอร์หรืออยากปรับรูปหน้าสามารถปรึกษาหมอโบได้นะคะ หมอยินดีดูแลเองทุกเคสค่ะ

อ่านบทความที่น่าสนใจได้ที่นี่

วิธีเช็คอาการก่อน ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ตาแบบไหนควรฉีดฟิลเลอร์

เคล็ดลับ สวยฉบับเร่งด่วน กู้ตาโทรม ดำคล้ำ ไม่กระชับ ภายใน 1 วัน

ฟิลเลอร์แท้ ย่อยสลายได้คืออะไร ฟิลเลอร์ปลอดภัยคือฟิลเลอร์ชนิดไหน?